วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553



**** Vocabulary
e-ASEAN (ASEAN Electronic Commerce Cooperation) ความร่วมมือด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในอาเซียนEAC (Eastern African Community) ประชาคมแอฟริกาตะวันออก " จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 มีประเทศสมาชิก 3 ประเทศ คือ เคนยา ยูกันดา และแทนซาเนีย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก และการจัดตั้งตลาดร่วมขึ้น


" Economic Integration การ รวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ " หมายถึง การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไป โดยการยกเลิกการเรียกเก็บภาษีศุลกากรและมาตรการอื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรคทางการค้าให้แก่กันและกัน รวมทั้งอาจใช้นโยบายต่าง ๆ ร่วมกัน จำแนกได้หลายรูปแบบ เช่น เขตการค้าเสรี สหภาพศุลกากร ตลาดร่วม และสหภาพเศรษฐกิจ

" GCC (Cooperation Council for the Arab States of the Gulf) คณะ มนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ " ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 ปัจจุบันมีสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดี- อาระเบีย บาห์เรน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คูเวต โอมาน และกาตาร์

" globalisation (globalization)

โลกาภิวัตน์ guest(s) of honour แขกเกียรติยศในการจัดเลี้ยง หมายถึง แขกที่ได้รับการจัดเลี้ยงเพื่อเป็นเกียรติ

KBE (Knowledge-based Economy) การพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการพัฒนาความรู้

NAM (Non-Aligned Movement) กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2504 มีสมาชิกจำนวน 114 ประเทศ (ตุลาคม 2547) ไทยเป็นสมาชิกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536

national reconciliation การปรองดองแห่งชาติ หมายถึง กระบวนการสร้างสันติภาพ และเอกภาพภายในชาติ โดยให้กลุ่มต่าง ๆ ที่ขัดแย้งกันได้มีส่วนร่วมในการกระบวนการดังกล่าว

NEAT (Network of East Asian Think-Tanks) เครือข่ายคลังสมองเอเชียตะวันออก

peace building การ สร้างสันติภาพ เป็นการสร้างและพัฒนาเงื่อนไขเพื่อให้เกิดสันติภาพที่ถาวร อันรวมถึงการสร้างสถาบันและโครงสร้างพื้นฐานของชาติที่ถูกทำลายโดยสงคราม กลางเมืองหรือการสู้รบขึ้นมาใหม่

peace keeping การ รักษาสันติภาพ " หมายถึง การส่งคณะเจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนในนามของสหประชาชาติเข้าไปใน พื้นที่ที่มีความขัดแย้งโดยความยินยอมของ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่ดูแลให้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงหยุดยิง หรือความตกลงสันติภาพ หรือกระบวนการแก้ไขปัญหาโดยวิถีทาง การเมือง

" persona non grata บุคคล ทางการทูตที่รัฐผู้รับไม่ยอมรับ เช่น กรณีนักการทูตทำผิดกฎหมายหรือข้อบังคับทางศาสนาในประเทศที่พำนักอยู่ จนทางรัฐบาลของประเทศนั้นไม่อาจยอมรับได้และต้องให้เดินทางกลับออกนอกประเทศ นั้น อย่างไรก็ตาม นักการทูตอาจถูกรัฐบาลของรัฐผู้รับให้ออกนอกประเทศเป็น persona non grata ด้วยเหตุผลของการดำเนินการโต้ตอบทางการเมืองระหว่างรัฐผู้รับและรัฐผู้ส่งก็ เป็นได้ โดยที่นักการทูตผู้นั้นมิได้กระทำผิดกฎหมายของรัฐผู้รับหรือกระทำผิดทาง ศาสนาของรัฐผู้รับแต่อย่างใด

R.S.V.P. โปรด ตอบให้ผู้เชิญทราบด้วยว่าผู้ได้รับเชิญจะไปร่วมงานหรือไม่ เป็นคำย่อมาจากภาษาฝรั่งเศสที่ว่า R?pondez s'il vous pla?t ซึ่งระบุในบัตรเชิญเข้าร่วมงานต่าง ๆ แปลว่า โปรดตอบให้ผู้เชิญทราบด้วยว่าผู้ได้รับเชิญจะไปร่วมงานหรือไม่

Recall of Diplomats การ เรียกตัวนักการทูตกลับประเทศของตน คือ ผู้แทนทางการทูตอาจถูกรัฐบาลของตนริเริ่มเรียกตัวกลับประเทศได้ด้วยเหตุผล ต่าง ๆ เช่น ผู้แทนทางการทูตนั้นขอลาออก หรือลาออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญ หรือถูกโยกย้ายไปประจำอีกแห่งหนึ่ง หรือเกิดความไม่พอใจอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ถ้าหากรัฐบาลปรารถนาจะเรียกหัว หน้าคณะผู้แทนทางการทูตกลับโดยถาวรเนื่องจากไม่พอใจในตัวเขา โดยมากเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกัน คือ รัฐบาลจะเปิดโอกาสให้หัวหน้าคณะทูตผู้นั้นทำหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งเสีย มากกว่าที่จะใช้วิธีสั่งปลด อันเป็นการกระทำที่รุนแรงกว่ามากนอกจากนี้ หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตหรือเอกอัครราชทูตอาจถูกรัฐบาลเรียกตัวกลับตามคำ ขอร้องของรัฐบาลประเทศผู้รับ เนื่องจากกระทำตนไม่เป็นที่พึงปราถนาของประเทศผู้รับ (Persona non grata) ก็ได้ ตามปกติ คำขอร้องจากรัฐผู้รับขอให้เรียกตัวกลับนั้น มักได้รับการตอบสนองโดยดีในทันทีจากรัฐผู้ส่ง แต่ถ้าหากรัฐผู้ส่งปฏิเสธคำขอร้องดังกล่าวนั้น รัฐผู้รับอาจขับให้ออก (Dismiss) จากประเทศก็ได้ ที่มา : หนังสืออธิบายศัพท์การทูตและการเมืองระหว่างประเทศ ฯพณฯเอกอัครราชทูต กลศ วิเศษสุรการ
เขียนโดย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น